วันพฤหัสบดีที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2555

โครงงานวิทยาศาสตร์ประเภททดลอง

โครงงานทดลองทางวิทยาศาสตร์
                                                        เรื่อง  ดอกเบญจมาศไล่ยุง

วัตถุประสงค์

                1.  เพื่อคิดค้นสูตรยากำจัดยุงจากดอกเบญจมาศ
                2.  เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของยากำจัดยุงจากดอกเบญจมาศ

ความสำคัญของโครงงาน
ยากำจัดยุงที่เราได้วิจัยและทำขึ้นนั้น จะมีการเน้นในเรื่องของการกำจัดยุงมากกว่าลูกน้าเพื่อต้องการตัดวงจรชีวิตระยะตัวโตเต็มวัยซึ่งอยู่ในระยะที่กำลังสืบพันธ์และเป็นพาหะของโรคต่าง ๆ

สมมติฐาน
              1.  ได้สูตรยากำจัดยุงจากดอกเบญจมาศ
                2.    ยากำจัดยุงจากดอกเบญจมาศที่ทำขึ้นมีประสิทธิภาพสามารถกำจัดยุงได้

นิยามศัพท์เฉพาะ
              ดอกเบญจมาศ  ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dendranthemum grandifflora (เดิมชื่อ Chysanthemum morifolium) วงศ์ : Asteraceae(เดิมวงศ์ Compositae)
              พัยรีธริน (Pyrethrins)  เป็นสารที่อยู่ในดอกเบญจมาศ
              ยุง (MOSQUITOES)  หมายถึง  ยุงลาย ( Aedes ) ยุงรำคาญ ( Culex ) ยุงก้นปล่อง ( Anopheles )
ยุงเสือหรือยุงลายเสือ ( Mansonia ) และ ยุงยักษ์หรือยุงช้าง ( Toxorhynchites )

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
ประโยชน์จากการทำโครงงานเชิงทฤษฎี
1.     จำนวนยุงลดน้อยลง
2.     สามารถลดอัตราการเกิดโรคต่าง ๆ ที่มียุงเป็นพาหะแก่ประชากรในชุมชนได้
3.     ลดค่าใช้จ่ายในการซื้อสารเคมีเพื่อกำจัดยุงลาย
4.     เป็นการพัฒนาทักษะความคิดและกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
ประโยชน์จากการทำโครงงานเชิงประยุกต์
               สามารถถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับคนในชุมชน เพื่อนำไปพัฒนาใช้เองได้

ขอบเขตการศึกษา
                1. ตัวแปรที่ใช้ในการศึกษา
                                1.1  ตัวแปรต้น     
                                  -   ยากำจัดยุงที่ทำจากดอกเบญจมาศ
                                1.2  ตัวแปรตาม
                         -    จำนวนยุงที่ตาย
                2.  กลุ่มการทดลอง
                                ยุงที่พบในแหล่งน้ำ ภายในโรงเรียนอนุบาลโรจนวิทย์มาลาเบี่ยง
                3.  ระยะเวลาในการดำเนินงาน
                                กันยายน   2553 – ตุลาคม   2553
                4.  สถานที่ในการดำเนินการ
                                อาคารเรียน และบริเวณต่าง ๆ โรงเรียนอนุบาลโรจนวิทย์มาลาเบี่ยง  และชุมชน
ที่กลุ่มผู้ทดลองอาศัยอยู่
สรุปผลการทดลอง
                1. ยาฆ่ายุงที่ทำจากดอกเบญจมาศสามารถฆ่ายุงได้
                2. ประสิทธิภาพของยาฆ่ายุงจากการทดสอบปรากฏว่ามีประสิทธิภาพจริง
การอภิปรายผลการทดลอง
                จากการศึกษาวงจรชีวิตของยุงลายพบว่า ยุงลายมีวงจรชีวิต 4 ระยะ คือ ระยะไข่ ระยะลูกน้ำ ระยะตัวโม่ง และระยะตัวเต็มวัยซึ่งยุงประเภทนี้จะวางไข่ในน้ำสะอาด และเป็นน้ำที่มีลักษณะเป็นน้ำนิ่ง ซึ่งจากการทดลองโดยนำดอกเบญจมาศมาสกัดด้วยน้ำมันก๊าดหรือเอทิลแอลกอฮอล์  พบว่ายาฆ่ายุงที่สกัดได้สามารถฆ่ายุงได้จริง  เนื่องจากในดอกเบญจมาศจะมีสารชื่อ  พัยรีธริน (Pyrethrins)  ซึ่งมีฤทธิ์ในการฆ่าแมลง
จากปัจจัยดังกล่าว เมื่อยุงลายถูกสาร พัยรีธริน (Pyrethrins)  แล้วสารดังกล่าวจะเข้าไปทำลายระบบต่าง ๆ        ภายในร่างกายของยุง โดยเฉพาะระบบการหายใจ  จึงทำให้ยุงตาย

ข้อเสนอแนะจากการศึกษา
1.     ในการใช้ยาฆ่ายุงที่ทำจากดอกเบญจมาศไปฉีดพ่นจะใช้ในปริมาณที่มาก  และ
การเพาะเลี้ยงยุงที่จะนำมาทดลองต้องอาศัยเวลา
           2.   สารละลายที่ใช้ในการสกัดควรใช้แอลกอฮอล์ซึ่งจะดีกว่าน้ำมันก๊าดตรงที่ไม่มีกลิ่นฉุน

ข้อเสนอแนะในการทำการทดลองครั้งต่อไป
                    1.  ควรเปรียบเทียบสารที่ใช้สกัดว่าระหว่างน้ำมันก๊าดกับแอลกอฮอล์ว่าชนิดไหนมีประสิทธิภาพในการสกัดสารจากดอกเบญจมาศได้ดีกว่า
                    2.  ควรเปรียบเทียบดอกเบญจมาศสีต่างกันว่าดอกเบญจมาศสีใดมีประสิทธิภาพในการฆ่ายุงได้ดีกว่ากัน

คณะผู้จัดทำ
                      1. เด็กชายธนพัฒน์    แตงอ่ำ
                      2. เด็กชายเสฏฐวุฒิ   พูลหน่าย
                              3.  เด็กชายมลฑล       ทองทวี
                             
                       





1 ความคิดเห็น: